วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวัน ( Sunflower )


     ดอกทานตะวัน  ในประเทศจีนถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีอายุยืน  และ ทางสากล  ดอกทานตะวันจะเป็นสัญลักษณ์ของความทระนง และความมีชีวิตชีวา   ในปี 1996 ได้จัดให้เป็นปีแห่งดอกทานตะวัน โดยสำนักงานเกษตรแห่งชาติ เมืองแคนซัส ประเทศอเมริกา   ซึ่งขึ้นชื่อว่า เป็นมลรัฐแห่งดอกทานตะวัน  ไม่ว่าจะนำดอกทานตะวันไปจัดช่อหรือจัดแจกันก็สามารถทำให้ห้องดูมีชีวิตชีวา ขึ้นมาได้เสมอ  ดอกทานตะวันสามารถใช้เป็นของขวัญได้แทบทุกโอกาส  และมักจะได้รับความนิยมอยู่เสมอยังมี     ตำนานของดอกทานตะวัน  ที่เกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์  ก็เพราะดอกทานตะวัน  มักจะหันดอกไปตามแสงอาทิตย์แถมยังชอบแสงแดดมาก ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความหยิ่งทะนงและ ความกระปี้กระเปร่า มีชีวิตชีวานั่นเอง  นอกจากนี้ ดอกทานตะวัน  ยังให้ความรู้สึกถึงพลัง ความอบอุ่น  และ การดูแลทนุถนอม   จากลักษณะที่ดอกหันไปหาแสงอาทิตย์เสมอๆ นั้น  ทำให้เราเรียก ดอกทานตะวันว่า  เป็นสัญลักษณ์ของ “  ความจงรักภักดีในรัก นั่นเอง

เคล็ดลับการดูแลรักษา
ดอกทานตะวันชอบน้ำมาก   จึงต้องหมั่นตรวจ ระดับน้ำในภาชนะทุกวัน    เปลี่ยนน้ำให้สะอาดหรืออาจจะใส่ อาหารดอกไม้ ( flower food ) ลงไปด้วยก็ได้   และเพื่อให้ก้าน สามารถดูดน้ำได้เต็มที่  ให้ตัดก้านแนวเฉียง ใต้น้ำ เมื่อได้ดอกทานตะวันมาทุกครั้ง
-
ดอกทานตะวัน  ที่นำมาปักแจกัน จะสามารถมีอายุอยู่ได้ประมาณ  5 – 8 วัน
-
เมื่อกลีบดอกเหี่ยวลง ให้ดึงกลีบดอกออกจากเกสรตรงกลาง    เราสามารถใช้เฉพาะเกสรไปประดับตกแต่งหรือจัดช่อได้ใหม่ทำให้ดูแปลกตาไปอีก แบบ
หากพบว่าดอกเหี่ยวหรือโรยไปเร็วกว่าปกติ ให้ตัดก้านดอกให้สั้น และจุ่มลงไปในน้ำอุ่นเพื่อให้การเปิดหน้าก้านและอุณหภูมิของน้ำช่วยให้ดอก กลับสดชื่นขึ้นมาอีกครั้ง
-
การเลือกซื้อดอกทานตะวัน ให้เลือกซื้อดอกที่ยังบานไม่เต็มที่หรือบานประมาณ ¾ ก่อน เพราะดอกทานตะวันจะยังสามารถคลี่กลีบบานออกได้อีก กลีบดอกควรจะมีลักษณะเรียงซ้อนกัน เกสรตรงกลางดอกจะเป็นตัวชี้บอกว่าดอกนั้นสดอยู่แค่ไหน ให้ดูจากละอองเรณูที่เกสร ดอกที่ยังสดไม่ควรมีเรณูอยู่ เพราะดอกทานตะวันจะผลิตเรณูสีเหลืองตามอายุของมัน
     ดอกทานตะวันนั้นมีความหมาย และเป็นสัญลักษณ์มากมาย ในหลากหลายวัฒนธรรม  เช่น  ในเมืองจีน ดอกทานตะวันจะเป็นสัญลักษณ์แทนการมีอายุยืน ที่เทือกเขาแอนดิส อเมริกาใต้ เราจะพบรูปดอกทานตะวันสีทองภายในโบสถ์หลายแห่ง และ ในอเมริกาเหนือยังนำดอกทานตะวันมาผลิตน้ำมันสำหรับอุปโภคบริโภค ใช้เป็นยา และทำสีย้อมผ้า  นอกจากนี้  ชาวอินเดียนแดง ตามทุ่งหญ้าอเมริกาเหนือ  ยังนำถ้วยใส่เมล็ดทานตะวันวางลงในหลุมฝังศพด้วย  และ กล่าวกันว่าถ้าเด็กสาวนำเมล็ดทานตะวัน 3 เมล็ดวางที่หลัง เธอจะได้แต่งงานกับเด็กชายคนแรกที่เธอเจอ  การที่ ดอกทานตะวันหันหาแสงอาทิตย์ทำให้เป็นเครื่องหมายแห่งความจกรักภักดี ,ความเสมอต้นเสมอปลาย  และให้ความรู้สึกถึงพลัง ความอบอุ่น และ การทนุถนอม  แต่ก็ยังมีความหมาย ถึงความหยิ่งยะโส  ด้วย ส่วน ดอกทานตะวันแคระจะ มีความหมายถึง  การเคารพ

ที่มา : http://www.dalhadalee.com/index.php?option=com_content&view=article&id=95&Itemid=76

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

        ตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ หรือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ มาตราตัวสะกดมีอยู่ 8 แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว
  • มาตราแม่ กก
แม่กก คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ก" เป็นตัวสะกด เช่น
กระจก อ่านว่า กระ - จก พรรค อ่านว่า พัก
มัฆวาน อ่านว่า มัก - คะ - วาน สุนัข อ่านว่า สุ - นัก
  • มาตราแม่ กน
แม่กน คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "น" เป็นตัวสะกด เช่น
บานชื่น อ่านว่า บาน - ชื่น บริเวณ อ่านว่า บอ - ริ - เวน
ปัญญา อ่านว่า ปัน - ยา จราจร อ่านว่า จะ - รา - จอน
เทศบาล อ่านว่า เทด - สะ - บาน พระกาฬ อ่านว่า พระ - กาน
  • มาตราแม่ กบ
แม่กบ คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "บ" เป็นตัวสะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบ ภาพ อ่านว่า พาบ
กราฟ อ่านว่า กร๊าบ มณฑป อ่านว่า มน - ดบ
ลาบ อ่านว่า ลาบ อาภัพ อ่านว่า อา – พับ

  • มาตราแม่ กด

แม่กด คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ด" เป็นตัวสะกด เช่น
เสร็จ อ่านว่า เส็ด สมเพช อ่านว่า สม - เพด
ก๊าซ อ่านว่า ก๊าด จราจร อ่านว่า จะ - รา - จอน
ประเสริฐ อ่านว่า ประ - เสิด ทายาท อ่านว่า ทา - ยาด

  • เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่

1. แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด
2. แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ
3. แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส
4. แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ
5. แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
6. แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง
7. แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม
8. แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย
9. แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- มาตราตัวสะกดไม่ตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กก ,2. แม่ กด ,3. แม่ กบ , 4. แม่ กน
- มาตราตัวสะกดตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กง 2. แม่กม ,3. แม่ เกย ,4. แม่ เกอว
สรุป เสียงพยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง

ที่มา :http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%94